วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจ(Decision  Making) หมายถึง  กระบวนการหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด  จากทางเลือกหลายๆทางที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นทางเลือกที่สามารถทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญมากในการบริหารจัดการ  เพราะจะต้องทำการตัดสินใจทุกๆ  ขั้นตอนในการปฏิบัติตามหน้าที่ทางการบริหาร(Management  Function)  เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจในเรื่องการวางแผน  การจัดองค์การ  บริหารงานบุคคลการสั่งการ  การประสานงานและการควบคุม
          การตัดสินใจเป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะการหาทางเลือกที่เป็นไปได้  และการเลือกทางเลือกที่มีอยู่หลายๆ  ทางเลือกและได้แบ่งการตัดสินใจออกเป็น  2  ชนิด  คือ
          1.  การตัดสินใจที่กำหนดไว้ล่วงหน้า  (Program decision) เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ  กฎเกณฑ์  แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาจนกลายเป็นงานประจำ(Routine)  เช่นการตัดสินใจเกี่ยวกับการลาของพนักงาน  การอนุมัติการเบิกจ่ายเงินไปราชการ  การอนุมัติการใช้อาคารสถานที่  เป็นต้น  การตัดสินใจแบบกำหนดไว้ล่วงหน้านี้  จะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารเลือกทางเลือกได้น้อย  เพราะเป็นการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน
          2.  การตัดสินใจที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า  (Non – Program  decision)  เป็นการตัดสินใจในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน  และไม่มีกฎเกณฑ์ไม่มีระเบียบ  จึงเป็นเรื่องที่ลำบากใจกับผู้บริหารพอสมควร  ซึ่งบางครั้งผู้บริหารจะต้องคิดถึงเรื่องความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นการตัดสินใจที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่  การตัดสินใจที่จะขยายสาขาของธุรกิจเพิ่ม  การตัดสินใจที่จะลงทุนในธุรกิจตัวใหม่  เป็นต้น










ขั้นตอนการตัดสินใจ  สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้ คือ
          ขั้นที่ 1  การระบุปัญหา(Define problem)  เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก  เพราะจะต้องระบุปัญหาได้ถูกต้อง  จึงจะดำเนินการตัดสินใจในขั้นตอนต่อๆ  ไปได้
          ขั้นที่  2  การระบุข้อจำกัดของปัจจัย(Identify  limiting  factors)   เป็นการระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว   นำไปพิจารณาถึงข้อจำกัดต่างๆ  ขององค์กร  โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต
          ขั้นที่  3  การพัฒนาทางเลือก(Development  alternative)  ขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องพัฒนาทางเลือกต่างๆขึ้นมาซึ่งทางเลือกเหล่านี้ควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรืให้ประโยชน์สูงสุด  เช่น  เพิ่มการทำงานกะพิเศษ  เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ  เพิ่มจำนวนพนักงาน
          ขั้นที่  4    การวิเคราะห์ทางเลือก(Analysis  the   altematives)  เมื่อได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่างๆ  โดยนำเอาข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ  ควรพิจารณาว่าทางเลือกนั้นนำมาใช้  จะเกิดผลต่อเนื่องอะไรตามมา
          ขั้นที่ 5  การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด(Select  the  best alternative)  เมื่อผู้บริหารได้ทำการวิเคราะห์  และประเมินทางเลือกต่างๆ  แล้ว  ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว
          ขั้นที่ 6  การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ(Implernent  the  decision)  เมื่อผู้บริหารได้หาทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว  ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          ขั้นที่ 7  การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล(Establish  a  control  and  evaluation  system)  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ  ได้แก่การสร้างระบบการควบคุมและประเมินผลซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่  ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น