วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามกระบวนการธรรมชาติและมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ ที่สำคัญได้แก่
1. ดิน 2. น้ำ 3. แร่ธาตุ 4. ป่าไม้
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรดินในประเทศไทยมี2อย่าง คือ ปัญหาตามธรรมชาติ และปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติได้แก่
1.ปัญหาการชะล้างของแร่ธาตุในดิน
2.ปัญหาการสึกกร่อนพังทลายของดิน
ปัญหาที่เกิดจาการกระทำของมนุษย์ได้แก่
1.ปัญหาการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำซาก
2.ปัญหาการปลูกพืชโดยไม่บำรุงดิน
3.ปัญหาการทำลายป่าเพื่อการเกษตร
4.ปัญหาการเผาป่าหรือไร่นา
การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน หมายถึง การใช้ดินอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการสึกกร่อน พังทลายและสามารถใช้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและนานที่สุด ได้แก่
1. การปลุกพืชหมุนเวียน ในเขตที่มีการชลประทานดี
2. การปลูกพืชเป็นขั้นบันได บริเวณเชิงเขาที่มีพื้นที่ลาดชันน้อย
3. การปลูกป่าบริเวณลาดชันมากไม่เหมาะต่อการกสิกรรม
ข้อควรจำ
ภาคที่มีการชลประทานดี คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาคเหนือและภาคกลาง
ทรัพยากรธรรมชาติแร่ธาตุ
ทรัพยากรแร่ หมายถึง แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในหินเปลือกโลก ทั้งบนบกและใต้ทะเล ซึ่งมนุษย์สามารถขุดนำมาใช้ประโยชน์
แหล่งกำเนิดแร่มาจาก
1. หินอัคนีเย็นตัวลง มักพบบริเวณภูเขาที่มีหินอัคนีแทรกอยู่
2. การผุพังของหินอัคนี
3. หินแปร(เกิดจากหินชั้นหรือหินอัคนีเปลี่ยนสภาพไป เพราะถูกความร้อนหรือความกดดันสูง)
4. หินชั้น เกิดจากการทับถมของสารแร่บางอย่าง หรือการตกตะกอน
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง บริเวณทิวเขาภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ ซึ่งมีหินแกรนิต แทรกตัวอยู่ในชั้นหิน จะมีแร่ดีบุกเป็นจำนวน
ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้
ป่าไม้ในประเทศไทยแบ่งออกกเป็น2ประเภท คือ
1. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ 2.ป่าไม้ผลัดใบ
คำว่า "ป่าไม้" หมายความว่าอะไร
คำว่า "ป่าไม้"นี้มีความหมายของคำว่า "ป่าไม้" นี้มีความหมายที่แตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย
ตอนปลายศตวรรษที่ 13 ในยุโรป "ป่าไม้ หมายถึง พื้นที่ที่พระมหากษัตริย์ได้สงวนไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับล่าสัตว์ของ ส่วนพระองค์ ส่วนสิทธิในการตัดไม้และการก่นสร้างแผ้วถางป่าเพื่อการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ยังเป็นของประชาชนทั่ว ๆ ไปอยู่
ปัจจุบันองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้คำนิยามคำว่า "ป่าไม้" หมายถึง "บรรดาพื้นที่ที่มีพฤกษชาตินานาชนิดปกคลุมอยู่โดยมีไม้ต้นขนาดต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการทำ ไม้ในพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม สามารถผลิตไม้หรือมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศ หรือต่อระบบของน้ำในท้องถิ่น" นอกจากนี้พื้นที่ที่ได้ถูกตัดฟัน หรือแผ้วถางหรือโค่นเผาไม้ลง และมีเป้าหมายที่จะปลูกป่าขึ้นในอนาคต ก็นับ รวมเป็นพื้นที่ป่าไม้ด้วย แต่ทั้งนี้มิได้นับเอาป่าละเมาะ หรือหมู่ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่นอกป่า หรือต้นไม้สองข้างทางคมนาคม หรือที่ยืนต้นอยู่ตามหัวไร่ปลายนา หรือที่ขึ้นอยู่ในสวนสาธารณะ ให้เป็นป่าไม้ด้วย
ป่าไม้ผลัดใบได้แก่
1. ป่าเบญจพรรณ พบมากในภาคเหนือและภาคกลาง ไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ประดู่ แดง ตะแบก เสลา มะค่า โมง มะเกลือ เป็นป่าเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก
2. ป่าแดงหรือป่าโคก หรือเต็งรัง ปรากฎในดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์พบอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ป่าไม้ไม่ผลัดใบ ได้แก่
1. ป่าดงดิบ พบในบริเวณที่ฝนตกชุก ไม่มีฤดูแล้ง ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ได้แก่ ยาง ตะเคียน กะบาก และพันธุ์ไม้เล็กๆเช่น ไผ่เถาวัลย์ ระกำ เป้นต้น ป่าดงดิบมีมากในภาคใต้และภาคตะวันออก
2. ป่าดิบเขา มีลักษระคล้ายป่าดงดิบ แต่มีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่น้อยมาก ได้แก่ไม้สกุลตอ และมีพืชประเภทมอส เฟิน กล้วยไม้ เกาะติดอยู่ มีประโยชน์ในด้านรักษาต้นน้ำลำธาร ป่าดิบเขา ปรากฏตามทิวเขาที่มีความสูงตั้งแต่1000เมตรขึ้นไป
3. ป่าสนเขา พบบริเวณที่มีพิ้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ700เมตรขึ้นไป เช่นเชียงใหม่และภูกระดึง
4. ป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็ม เช่น โกงกาง แสมทะเล ปรง พบได้บริเวณต้นอ่าวไทย และชายฝั่งของภาคตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทยตั้งแต่เพชรบุรีไปถึงนราธิวาส กับทะเลอันดามันตั้งแต่ระนองถึงสตูล ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก
ความสำคัญของป่าไม้
1. สำคัญต่อระบบนิเวศวิทยา ป่าไม้ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้น
2. สำคัญด้านเศรษฐกิจ ป่าไม้ให้ผลผลิตที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อย่างมากมาย
3. สำคัญด้านนันทนาการ ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติวิทยาภาคที่มีป่าไม้หนาแน่นมากเรียงตามลำดับ คือ
1. ภาคเหนือ
2. ภาคตะวันตก
3. ภาคตะวันออก
4. ภาคใต้
5. ภาคกลาง
6. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการอนุรักษ์ป่าไม้ที่สำคัญคือ
1. การคุ้มครองป่าไม้
2. การควบคุมการตัดไม้
3. การปลูกป่า
4. การป้องกันไฟป่าและแมลงทำลายต้นไม้
5. การใช้ไม้อย่างประหยัด ใช้วัสดุอื่นแทนไม้ หรือการนำเศษไม้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
6. การปรามปราบผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
7. การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้
8. มีนโยบายเปิดป่าสัมปทานการทำป่าไม้เพื่อช่วยอนุรักษ์ป่า
วิธีการแก้ไขปัญหาป่าไม้ด้วยการปลูกป่าคืออะไร
นอกจากนี้กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้บริษัททำไม้จังหวัด ฯลฯ ได้ปลูกสวนป่าตั้งแต่ต้นจนถึงปี 2526 ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ โครงการป่าชุมชนที่ส่งเสริมให้ราษฎรและชาวไร่ปลูกป่าในที่รกร้างว่าเปล่าหรือที่หัว ไร่ปลายนา เมื่อดำเนินการเต็มรูปแล้วปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ ไม้ฟืนและไม้ใช้สอยก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ อย่างไรก็ดี การที่จะป้องกันรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติล้ำค่าของเรานั้น จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยราชการและประชาชนทุกฝ่ายมิฉะนั้น ป่าไม้จะต้องหมดไปจากประเทศไทยอย่างไม่มีปัญหา การให้การศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับชั้น เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ทุกประเภท โดยกำหนดเป็นหลักสูตรการศึกษานับตั้งแต่ชั้นประถมขึ้นไปจน ถึงระดับมหาวิทยาลัย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสไปเห็นหรือสัมผัสของจริงหรือฝึกงานในภูมิประเทศจึงจะเกิดความประทับใจขึ้นอย่างจริงจัง สื่อมวลชนอันได้แก่หนังสือพิมพ์
วิทยุกระจาย เสียง และวิทยุ โทรทัศน์นับว่ามีบทบาทสำคัญมากที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและให้ความร่วมมือกับรัฐในการอนุรักษ์ยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากมาตรการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่กระทรวงต่าง ๆ ถือปฏิบัติอยู่ให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายจะสงวนและรักษาป่าไม้ไว้ให้ได้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายจะเปิดที่ป่าไม้เพื่อให้ราษฎรทำกิน
กระทรวงคมนาคม ตัดเส้นทางผ่านป่าไม้ที่สมบูรณ์ โดยมิได้วางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำให้ป่าไม้สองข้างทาง คมนาคมถูกบุกรุกทำลายอย่างรุนแรงเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก กระทรวงอุตสาหกรรม อนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โดยมิ ได้ประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่าที่สมบูรณ์จึงถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อยเป็นจำนวนมาก
ปัญหาของทรัพยากรน้ำ
ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ
1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่ น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม
และอุตสาหกรรม
เครื่องเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ป้องกันมิให้น้ำเน่าเสีย
การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำที่สำคัญๆมีดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาแหล่งน้ำ ได้แก่ การขุดลอกหนองคลองบึง และแม่น้ำที่ตื้นเขิน เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น ตลอดจนการสร้างเขื่อนและอ่างกักเก็บน้ำ
2. การใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่ปล่อยให้น้ำสูญเสียไปโดยปล่าวประโยชน์ และสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ได้ใหม่อีก
3. การควบคุมรักษาต้นน้ำลำธาร ไม่มีการอนุญาติให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่าอย่างเด็ดขาด
4. ควบคุมมิให้เกิดมลพิษแก่แหล่งน้ำ มีการดูแลควบคุมมิให้มีการปล่อยสิ่งสกปรกลงแหล่ง

การกำหนดส่วนตลาดเป้าหมายและการเลือกตลาดเป้าหมาย

 

 
การกำหนด STP
การตลาดเป้าหมาย (Target Margeting) หมายถึง การกำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อคัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ คือ ส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต
ขั้นที่ 1 การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) คือ การแบ่งตลาดใหญ่เป็นตลาดส่วนย่อยตามคุณลักษณะบางประการของกลุ่มผู้ซื้อ โดยยึดถือหลักเกณฑ์ว่าผู้บริโภคหรือผู้ซื้อแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่จะมีผู้ซื้อที่มีความต้องการชอบพอคล้ายคลึงกัน โดยพิจารณาได้ดังนี้
1. ระดับการแบ่งส่วนตลาด (Levels of market segmentation)
ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งตลาดเป้าหมาย กลุ่มเพศหญิง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
2. หลักเกณฑ์ในการแบ่งตลาดผู้บริโภค (Bases for Segmenting Consumer)
2.1 ตามหลักประชากรศาสตร์ มีการแบ่งส่วนตลาดของผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ กลุ่มเพศ หญิงที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ระดับชั้นของสังคมอยู่ในระดับปานกลาง
2.2 การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา คือ มีการแบ่งส่วนตลาดตามลักษณะนิสัย คือ ชอบลองของใหม่ ๆ และ การดำเนินชีวิต คือ ช่วยทำความสะอาดร่างกายและให้ความสดชื่นแก่ผิวกาย
2.3 การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมทัศนคติและความต้องการ
- สถานการณ์ในการซื้อ คือ จะซื้อเมื่อผลิตภัณฑ์เก่าที่ใช้อยู่หมดไป เพื่อนำไปใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย
- ประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า คือ ช่วยทำความสะอาดร่างกาย ให้กลิ่นหอมสดชื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวกาย
- ลักษณะการซื้อการใช้ คือ จะซื้อเมื่อต้องการทำความสะอาดหรืออาจซื้อเป็นจำนวนมากตามความเหมาะสม
- ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ คือ ผู้บริโภคจะมีทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ ครีมอาบน้ำลักส์ โดยมีการบอกต่อให้เพื่อน ๆ รู้ถึงคุณสมบัติต่างๆ ของครีมอาบน้ำลักส์ ว่ามีคุณภาพดีจริงและเมื่อใช้แล้วจะไม่เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น
ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมาย (Market Targeting) หมายถึง การประเมินและเลือกส่วนหนึ่งส่วนใดหรือเลือกสองสามส่วน ของตลาดเป้าหมายซึ่งสามารถทำได้โดยการแบ่งส่วนตลาดก่อนและทำการกำหนดตลาดเป้าหมาย ดังนี้
1. การประเมินส่วนตลาด (Evaluating the Market Segment)
1.1 ขนาดและความเจริญเติบโตของตลาดเป้าหมาย คือ ทางบริษัทได้มีการคาดคะเนว่าผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ จะสามารถสร้างยอดขาย และทำกำไรให้กับบริษัทได้มากและยังเป็นที่ยอมรับของตลาดอีกด้วย
1.2 ความสามารถของบริษัทในการชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายในตลาดส่วนนี้ยอมรับสินค้าใหม่คือ ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด จึงสามารถชักจูงให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายนี้มีความภักดีกับผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ ได้เป็นอย่างดี
1.3 ความสามารถ ทรัพยากร กำลังเงิน และบุคลากรของบริษัท คือในการผลิตครีมอาบน้ำลักส์ ทางบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้มีผู้เชี่ยวชาญและความชำนาญเป็นอย่างดีในการผลิต โดยเน้นการผลิตในเรื่องของความสะอาดและความปลอดภัยที่ผู้บริโภคได้รับ
2. การเลือกส่วนตลาด (Selecting the Market Segment) คือ มีการกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นที่ 3 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Prouduct Positioning) มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดผลิตภัณฑ์ดังนี้
1. การวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติคือให้กลิ่นหอมสดชื่นในขณะอาบน้ำ
2. การวิเคราะห์ลักษณะตลาดเป้าหมายและการเลือกตลาดเป้าหมาย คือ กลุ่มเป้าหมายจะเป็นเพศหญิง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยมีระดับชั้นของกลุ่มสังคม คือ ระดับปานกลาง
3. วิธีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ซึ่งใช้ราคาและคุณภาพเป็นตัวกำหนด
4. การกำหนดผังแสดงตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทและคู่แข็งในตลาด
การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior analysis) เป็นการพิจารณาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คำถาม 7 คำถาม และเพื่อหาคำตอบ 7 ประการ เกี่ยวกับลูกค้า
1. ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?)
ลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ มีคุณสมบัติดังนี้
1.1 เป็นผู้มีรายได้ปานกลางอยู่ในชั้นสังคมปานกลาง
1.2 กลุ่มผู้หญิงที่ดูแลสุขภาพผิวกาย
การทราบถึงลักษณะกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Stratgies) และกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies) ได้เหมาะสม
2. ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the Conuner buy?)
ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ต้องการสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความสะอาดของร่างกาย
2.2 สร้างความมั่นใจในตัวเอง
2.3 ให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นน่าสัมผัส
จากการทราบว่าผู้บริโภคซื้ออะไร (ต้องการอะไร) จากการซื้อผลิตภัณฑ์บริษัทจะนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategies) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Tangible Product) ผลิตภัณฑ์เสริม (Augmented Product) ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (Expected Product) และศักยภาพผลิตภัณฑ์ (Potentia Product) และการกำหนดกลยุทธ์การโฆษณา (Advertising Strategies) การสร้างสรรค์งานโฆษณา (Creative Strategies) โดยชี้จุดขาย (Unique Selling Paint – USP) ที่คาดว่าจะสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้
3. ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the Consumer buy?)
ผู้บริโภคซื้อด้วยเหตุจูงใจสองด้านคือ ด้านเหตุผล และด้านจิตวิทยา โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 เหตุจูงใจในการซื้อด้านเหตุผล ประกอบด้วย ด้านความสะอาดของร่างกาย คุณภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
3.2 เหตุจูงใจในการซื้อด้านจิตวิทยา ประกอบด้วย
3.2.1 ผู้บริโภคซื้อเพราะ ต้องการความสะอาดของร่างกายและคุณภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน รูปลักษณ์ของทรงบรรจุภัณฑ์
3.2.2 ตราสินค้า ยูนิลีเวอร์ ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
3.2.3 ให้ความรู้สึกถึงความสะอาดของร่างกาย
4. ใครมีส่วนร่วมในการซื้อ (Who participates?)
ผู้ที่มีส่วนร่วมในการซื้อ คือ
4.1 ผู้มีอิทธิพล (Influencer) ประกอบด้วย กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ เพื่อน กลุ่มทุติยภูมิ เช่น พรีเซ็นเตอร์ นักแสดงที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ (Presenter)
4.2 การตัดสินใจซื้อ (Decider) ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์จะเป็นผู้ตัดสินใจในการซื้อ
5. ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออย่างไร (How does the Consumer buy?)
ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเริ่มตั้งแต่การรับรู้ถึงความต้องการการใช้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่กลิ่นใหม่ การเกิดการรับรู้ในตราสินค้าและเกิดทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าจึงทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อครีมอาบน้ำลักส์ในที่สุด ซึ่งคำตอบนี้จะนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด
6. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the Consumer buy?)
ผู้บริโภคจะซื้อครีมอาบน้ำก็ต่อเมื่อ
1. ที่ใช้อยู่หมดหรือมีปัญหากับกลิ่นเดิม ๆ คิดอยากทดลองใช้กลิ่นใหม่ ๆ
2. มีกลิ่นใหม่ออกมาให้ทดลองใช้
7. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the Consumer buy?)
ผู้บริโภคจะซื้อผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำจากตัวแทนร้าน ร้ายขายของชำต่าง ๆ ห้างสรรพสินค้าซึ่งคำตอบข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place strategies)

การตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจ(Decision  Making) หมายถึง  กระบวนการหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด  จากทางเลือกหลายๆทางที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นทางเลือกที่สามารถทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญมากในการบริหารจัดการ  เพราะจะต้องทำการตัดสินใจทุกๆ  ขั้นตอนในการปฏิบัติตามหน้าที่ทางการบริหาร(Management  Function)  เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจในเรื่องการวางแผน  การจัดองค์การ  บริหารงานบุคคลการสั่งการ  การประสานงานและการควบคุม
          การตัดสินใจเป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะการหาทางเลือกที่เป็นไปได้  และการเลือกทางเลือกที่มีอยู่หลายๆ  ทางเลือกและได้แบ่งการตัดสินใจออกเป็น  2  ชนิด  คือ
          1.  การตัดสินใจที่กำหนดไว้ล่วงหน้า  (Program decision) เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ  กฎเกณฑ์  แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาจนกลายเป็นงานประจำ(Routine)  เช่นการตัดสินใจเกี่ยวกับการลาของพนักงาน  การอนุมัติการเบิกจ่ายเงินไปราชการ  การอนุมัติการใช้อาคารสถานที่  เป็นต้น  การตัดสินใจแบบกำหนดไว้ล่วงหน้านี้  จะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารเลือกทางเลือกได้น้อย  เพราะเป็นการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน
          2.  การตัดสินใจที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า  (Non – Program  decision)  เป็นการตัดสินใจในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน  และไม่มีกฎเกณฑ์ไม่มีระเบียบ  จึงเป็นเรื่องที่ลำบากใจกับผู้บริหารพอสมควร  ซึ่งบางครั้งผู้บริหารจะต้องคิดถึงเรื่องความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นการตัดสินใจที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่  การตัดสินใจที่จะขยายสาขาของธุรกิจเพิ่ม  การตัดสินใจที่จะลงทุนในธุรกิจตัวใหม่  เป็นต้น










ขั้นตอนการตัดสินใจ  สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้ คือ
          ขั้นที่ 1  การระบุปัญหา(Define problem)  เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก  เพราะจะต้องระบุปัญหาได้ถูกต้อง  จึงจะดำเนินการตัดสินใจในขั้นตอนต่อๆ  ไปได้
          ขั้นที่  2  การระบุข้อจำกัดของปัจจัย(Identify  limiting  factors)   เป็นการระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว   นำไปพิจารณาถึงข้อจำกัดต่างๆ  ขององค์กร  โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต
          ขั้นที่  3  การพัฒนาทางเลือก(Development  alternative)  ขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องพัฒนาทางเลือกต่างๆขึ้นมาซึ่งทางเลือกเหล่านี้ควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรืให้ประโยชน์สูงสุด  เช่น  เพิ่มการทำงานกะพิเศษ  เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ  เพิ่มจำนวนพนักงาน
          ขั้นที่  4    การวิเคราะห์ทางเลือก(Analysis  the   altematives)  เมื่อได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่างๆ  โดยนำเอาข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ  ควรพิจารณาว่าทางเลือกนั้นนำมาใช้  จะเกิดผลต่อเนื่องอะไรตามมา
          ขั้นที่ 5  การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด(Select  the  best alternative)  เมื่อผู้บริหารได้ทำการวิเคราะห์  และประเมินทางเลือกต่างๆ  แล้ว  ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว
          ขั้นที่ 6  การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ(Implernent  the  decision)  เมื่อผู้บริหารได้หาทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว  ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          ขั้นที่ 7  การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล(Establish  a  control  and  evaluation  system)  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ  ได้แก่การสร้างระบบการควบคุมและประเมินผลซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่  ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้